วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

การอ่านวรรณคดี

การอ่านวรรณคดี
จุดมุ่งหมายในการอ่านวรรณคดี
                        การอ่านวรรณคดีคือการพยายามทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้ทะลุปรุโปร่ง และพยายามใช้           จินตภาพสร้างสภาพอารมณ์ของกวีขึ้นในจิตใจของเรา  เพื่อจะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ
                       การประพันธ์วรรณคดีเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง กวีสามารถระบายความรู้สึกของตนโดยใช้ภาษาเป็นสื่อ กล่อมเกลาโน้มน้าวผู้อ่านให้มีความคิดและอารมณ์คล้อยตามกวี
                       ผู้อ่านจะรับสารของกวีได้ก็โดยเอาใจกวีมาใส่ใจตน เพื่อให้

มีคลื่นในการสื่อสารตรงกัน   ดังนั้นถ้าเราอ่านหนังสือของกวีคนใด   เราต้องอ่านด้วยจิตใจที่สอดประสานกับกาลสมัยที่แต่งหนังสือนั้น  ต้องอ่านด้วยสติปัญญาหรือใช้วิจารณญาณ   คืออ่านแล้วนำไปคิดต่อ  กลั่นกรองแล้วสกัดเอาคุณค่าที่แท้จริงออกมา  ทั้งคุณค่าทางด้านอารมณ์ และคุณค่าทางความคิด
                            วรรณกรรมและวรรณคดีคืออะไร 
                  วรรณกรรม เป็นงานศิลปะที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความรู้สึกและความนึกคิดของมนุษย์
                  วรรณกรรมเรื่องใดที่มีคนอ่านแล้วอ่านอีและถ่ายทอดสืบต่อกันมาช้านาน ถือเป็นผลงานที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา เพราะมีกาลเวลาเป้นเครื่องตัดสินอย่างหนึ่งและมีกลุ่มบุคคลในอดีตกล่าวยกย่องไว้ เราเรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่าวรรณคดี
                            การอ่านวรรณคดีมีคุณค่าอย่างไร
               ๑. คุณค่าทางด้านอารมณ์สร้างความบันเทิงใจ  สร้างความจรรโลงใจ
               ความบันเทิงใจ คือ ความอิ่มใจอิ่มอารมณ์เมื่อได้เสพงานศิลป
               ความจรรโลงใจ คือ ความผ่องใส ชื่นบาน และร่าเริงหายจากความหมกมุ่นกังวล มีจิตใจ
ที่ขัดเกลาและมีอารมณ์ที่กล่อมเกลาแล้ว
                ๒.คุณค่าการอ่านวรรณคดีไทยมีทั้งด้านอารมณ์และคุณธรรม
                                คุณค่าทางด้านอารมณ์  ความอิ่มอารมณ์จากวรรณคดีมีทั้งเนื้อหาที่สนุกชวน
ติดตามและเสียงไพเราะที่ทำให้เพลินอารมณ์
                                 คุณค่าด้านคุณธรรม  กวีแสดงคุณธรรมไว้ในผลงานของตน ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม
                                
                ๓.คุณค่าการอ่านวรรณคดีทำให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตมนุษย์ได้มากขึ้น

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี
                  การวิจักษ์วรรณคดี คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด การตระหนักนำไปสู่ ความ

ตลาดน้ำคลองแห
ซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหนอยากจะรักษาไว้เป็นสมบัติชาติต่อไป

การวิจารณ์วรรณคดี คือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี และคิดค้นหาเหตุผลมาอธิบายถึงการแสดงความคิดเห็น จึงมีหลักการในการวิจารณ์วรรณคดี เช่น การวิจารณ์แบบอิงชีวประวัติของกวี การวิจารณ์แนวจิตวิทยา การวิจารณ์แนวสังคม การวิจารณ์แนวปรัชญา เป็นต้น
  
แนวพิจารณารูปแบบของวรรณคดี
     ๑.ร้อยแก้ว
     ๒.ร้อยกรอง
สถาบันทักษิณไทยคดีศึกษา
       แนวพิจารณาตามเนื้อหา
๑.บันเทิงคดี       
  ๑.๑ บทมหรสพ
  ๑.๒ เรื่องเล่า
  ๑.๓ บทพรรณนา
๒. สารคดี

แนวทางพิจารณาเนื้อหาและกลวิธในวรรรคดี
     ๑. เนื้อเรื่อง
     ๒. โครงเรื่อง
     ๓. ตัวละคร
     ๔. ฉาก
    ๕. บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
     ๖. แก่นเรื่อง


การพิจารณาวรรณคดีประเภทร้อยกรอง
      ๑. รูปแบบกับเนื้อเรื่องเหมาะสมกันหรือไม่
      ๒.ภายในเนื้อเรื่องมีรายละเอียดที่ขัดแย้งกันหรือสอดคล้องกัน
      ๓. สิ่งที่ประกอบเป็นเนื้อหาเช่น โครงเรื่อง ตัวละคร กาลสมัย ความนึกคิด ขัดแย้งกันหรือไม่
      ๔.ตัวละครถ้ามีทำให้เกิดความนึกคิดไปในทางที่น่าสนใจหรือไม่
      ๕. มีภาพพจน์ถ้อยคำสำนวนจับใจหรือไม่
      ๖. ทรรศนะของผู้ประพันธ์ รสนิยม คติต่างๆ สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน แนวคิดเป็นของตนเองหรือคัดลอกมา พัฒนาการทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์สูงหรือต่ำ
      ๗. ความมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ เหมาะสมกับกลวิธีที่ใช้ในการประพันธ์ ในด้านเนื้อเรื่อง นิสัยตัวละคร
      ๘. ความรู้ของผู้ประพันธ์ดีหรือบกพร่อง
      ๙.กลวิธีการร้อยกรอง แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น เหมาะสมหรือไม่



1 ความคิดเห็น: