วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

เป้าหมายในการเรียนรู้ วิชา ท๓๑๑๐๑ ภาษาไทย

การเรียนภาษาไทย ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
เมื่อรู้ขอบข่ายจะได้เตรียมตนได้ถูกต้อง
ดังนั้นนักเรียนจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
๑. คุณภาพผู้เรียนภาษาไทย  
 เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องมีคุณภาพในสาระต่างๆดังนี้

                          ·สาระการอ่าน อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้องและเข้าใจ  ตีความ  แปลความ  และขยายความเรื่องที่อ่านได้   วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน  แสดงความคิดเห็นโต้แย้งและเสนอความคิดใหม่จากการอ่านอย่างมีเหตุผล  คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน  เขียนกรอบแนวคิด  ผังความคิด  บันทึก         ย่อความ และเขียนรายงานจากสิ่งที่อ่าน   สังเคราะห์  ประเมินค่า  และนำความรู้ความคิดจากการอ่านมาพัฒนาตน  พัฒนาการเรียน  และพัฒนาความรู้ทางอาชีพ  และ  นำความรู้ความคิดไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน
              · สาระการเขียน เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆ  โดยใช้ภาษาได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์   ย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย   เรียงความแสดงแนวคิดเชิงสร้างสรรค์โดยใช้โวหารต่าง ๆ  เขียนบันทึก  รายงานการศึกษาค้นคว้าตามหลักการเขียนทางวิชาการ ใช้ข้อมูลสารสนเทศในการอ้างอิง   ผลิตผลงานของตนเองในรูปแบบต่างๆ   ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี   รวมทั้งประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
             ·  สาระการฟัง การดู การพูด  ตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู       มีวิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่ฟังและดู  วิเคราะห์วัตถุประสงค์  แนวคิด  การใช้ภาษา  ความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ฟังและดู  ประเมินสิ่งที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและ    ไม่เป็นทางการโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง   พูดแสดงทรรศนะ  โต้แย้ง โน้มน้าว  และเสนอแนวคิดใหม่อย่างมีเหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
             · สาระหลักการใช้ภาษา เข้าใจธรรมชาติของภาษา  อิทธิพลของภาษา และลักษณะของภาษาไทย ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคได้ตรงตามวัตถุประสงค์   แต่งคำประพันธ์ประเภท กาพย์ โคลง ร่ายและฉันท์   ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับกาลเทศะและใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างถูกต้อง  วิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทย อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยและภาษาถิ่น วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          ·  สาระวรรณคดี วรรณกรรม วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของวรรณคดี ภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้าน เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีไทยประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และนำข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
           ๒.วิชา ท ๓๓๑๐๑ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖  เรียนรู้อะไรบ้าง
จะต้องเรียนรู้สาระดังนี้ 
๑. การอ่าน 
๒.การเขียน  
๓. การฟัง การดู การพูด
๔. หลักการใช้ภาษา
๕.วรรณคดีวรรณกรรม
                                    ๑.  เรียนรู้การอ่าน เพื่ออะไร
                         เรียนรู้การอ่านเพื่อให้มีความสามารถดังนี้
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง ได้อย่างถูกต้อง  ไพเราะ และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
๒. ตีความ  แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน
๓. วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่าน ในทุกๆ ด้านอย่างมีเหตุผล
๔.  คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน และประเมินค่าเพื่อนำความรู้ ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
       ในการดำเนินชีวิต
๕. วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความ   คิดเห็นโต้แย้งกับเรื่องที่อ่าน และเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
                      ๒.เรียนรู้การเขียนเพื่ออะไร
              เรียนรู้การเขียนเพื่อให้มีความสามารถดังนี้
 ๑. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาเรียบเรียงอย่างถูกต้อง
       มีข้อมูล และสาระสำคัญชัดเจน   
๒. เขียนเรียงความ
๓.  เขียนย่อความจากสื่อที่มีรูปแบบ  และเนื้อหาหลากหลาย 
                                          ๓. รู้เรียนการฟัง การดู และการพูด เพื่ออะไร
                           เรียนรู้การฟัง การดู และการพูด เพื่อให้มีความสามารถดังนี้

๑. สรุปแนวคิด และแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู 
๒. วิเคราะห์แนวคิด การใช้ภาษา และความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล
. ประเมินเรื่องที่ฟังและดู แล้วกำหนดแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
. ให้สามารถใช้วิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่ฟังและดู
๕. ให้มีมารยาทในการฟัง การดู และการ พูด
                              . เรียนรู้หลักการใช้ภาษาเพื่ออะไร
                              เรียนรู้หลักการใช้ภาษาเพื่อให้มีความสามารถดังนี้
๑. อธิบายธรรมชาติของภาษา  พลังของภาษา และลักษณะของภาษา
๒. ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
 ๓.แต่งบทร้อยกรอง
                                ๕.เรียนรู้วรรณคดี วรรณกรรม เพื่ออะไร
                         เรียนรู้วรรณคดีเพื่อให้มีความสามารถดังนี้
๑. ให้มีความสามารถวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
 ๒. ให้มีความสามารถวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
       และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
๓. ให้มีความสามารถวิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรม
     ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
๔. ให้มีความสามารถสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
. ให้สามารถท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
     ตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
                        ๓.  สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย
มีหลายชนิดจะยกตัวอย่างหนังสือประกอบการเรียน เช่น
                        หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ช้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
                        หนังสือหลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อพัฒนาการคิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
                        พจนานุกรมคำใหม่เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตสถาน
                        ความรู้เกี่ยวกับร้อยกรอง
                         หนังสือสารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย
                                      ฯลฯ
                        เวบไซด์ ต่างๆ เช่น สืบค้นจาก www.google.com    http://www.youtube.com/  ฯลฯ

                                           ๔. วรรณดคีที่กำหนดให้เรียน
                            เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา
                            สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
                            กาพย์เห่เรือ
                            เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
                            ไตรภูมิพระร่วงตอนมนุสสภูมิ
                           
                                 เมื่อนักเรียนรู้เป้าหมายการเรียนรู้นักเรียนก็สามารถกำหนดคุณภาพของตนเองได้อย่างขัดเจน ปฏิบัติฝึกฝน เอาใจใส่ นักเรียนก็จะประสบความสำเร็จ 
                           
                             
                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น